วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทที่2
       เอกสารที่เกี่ยวข้อง   
                           
            ใบเตย          
     ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้  ใบ
สรรพคุณ :
  • ใบสด
    -  ตำพอกโรคผิวหนัง
    -  รักษาโรคหืด
    -  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
    -  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.            ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
2.            ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
3.            ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน                                                                                                                    
อัญชัน

เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน (เหนือ)[1] เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา

สรรพคุณ

  • ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร ช่วยปลูกผมทำให้ผมดำขึ้น
  • เมล็ด เป็นยาระบาย
  • ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
ขมิ้น


ชื่ออื่น :   ขมิ้นหัว,ขมิ้นแกง,ขมิ้นหยวก (เชียงใหม่) ขมิ้น (กลาง) หมิ้น,ขี้มิ้น (ภาคใต้) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตา ยอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)  
สรรพคุณ : ใช้รับประทานเหง้าของขมิ้นชัน โดยการปลอกเปลือกหรือตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง และแบบผงบรรจุแคปซูลเพื่อความสะดวกแก่การรับประทาน ขมิ้นชันมีประโยชน์และสรรพคุณหลายประการ ดังนี้ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานพร้อมกัน ทั้ง 3 ตัว จึงมีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็น  กล้ามเนื้อ ต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งตับ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปและสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังการ  คลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลีกินขมิ้นชันให้ตรงเวลา ที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงกับประเด็นที่ต้องการจะบำรุง หรือแก้ไขฟื้นฟูอวัยวะ รับประทานเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น จะออกฤทธิ์    มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว แต่ถ้ามีปัญหาหลายอย่างก็รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล ทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้ารับประทานขมิ้นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะทำหน้าที่ขับไขมันในตับ กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร ไม่ใช่กิน  ให้เป็นยา ต้องกินให้สนุกใช้ปรุงอาหารกินบ้าง หุงข้าวก็ใส่ขมิ้นชันได้ ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากินและยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้เป็นบาง  ส่วน ถ้ากินขมิ้นชันสดๆ ต้องปลอกเปลือกก่อน แต่ถ้าทำขมิ้นบดเป็นผง ต้องนำขมิ้นมาต้มน้ำให้เดือดสักพักหนึ่ง เสร็จแล้วตักออกนำมาผึ่งให้เย็นหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ตากแดดจนแห้ง อาจจะตากหลายครั้ง แล้วถึง  จะนำมาบดให้เป็นผง ถ้าใช้เครื่องอบให้ขมิ้นแห้ง ความร้อนไม่ควรเกิน 65 องศา ถ้าความร้อนเกินอาจเกิดสารสเตอรอยด์ได้











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น